การจัดการขยะในชุมชนบ้านคีรีวงอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
1. บทนำ
1.1 ที่มาและหลักการ
ชุมชนคีรีวง เป็นเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบกลางหุบเขาสลับซับซ้อนในเขตปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ติดกับเขตอุทยานแห่งชาติเขาหลวง มีต้นน้ำสำคัญหลายสาย มีภูเขาหลายลูก พื้นที่ส่วนมากมีความลาดชัน มีหุบเขา และสันเขา น้อย-ใหญ่ที่มีความสำคัญจำนวนมากเช่น เขาใหญ่ เขาหน้าล้อน เขาในไฮ เขาปลายปง และ “เขาสันหวัน” หรือ สันสวรรค์ ตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบคาบสมุทร จึงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ทั้งจากฝั่งทะเลอันดามัน และฝั่งอ่าวไทย ทำให้มีเพียง 2 ฤดูกาลคือ ฤดูร้อนและฤดูฝน
สภาพแวดล้อมปัจจุบัน ในปัจจุบัน ชุมชนคีรีวงมีอาณาบริเวณ ดังนี้
ทิศเหนือ จดกับเขายอดเพล
ทิศใต้ จดกับเทือกเขาหอยสังข์
ทิศตะวันออก จดกับบ้านสมอ ตำบลกำโลน
ทิศตะวันตก จดกับเขาหลวง
ชุมชนคีรีวงมีจำนวนประชากรประมาณ 7,000 คน จึงเป็นหมู่บ้านค่อนข้างใหญ่ จึงได้แบ่งเขตการปกครองท้องถิ่นใหม่ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2536 โดยแยกหมู่บ้านคีรีวงออกเป็น 4 หมู่บ้าน คือ บ้านคีรีวง บ้านคีรีทอง บ้านขุนคีรี และบ้านคีรีธรรม โดยยังมีคำว่า "คีรี" เอาไว้เป็นอนุสรณ์
ชุมชนคีรีวงปัจจุบันเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP และหมู่บ้าน OTOP ต้นแบบ เป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงานของชุมชนอื่น ๆ ชุมชนคีรีวงมีทรัพยากรธรรมชาติที่อำนวยต่อการท่องเที่ยว เช่น เทือกเขาหลวง น้ำตก และกลุ่มองค์กรชุมชนต่าง ๆ มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาท่องเที่ยว ส่งผลให้มีการทิ้งขยะไว้ตามจุดท่องเที่ยวต่าง ๆ ชุมชนได้มีการจัดเก็บขยะซึ่งได้รับความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบลกำโลน แต่จำนวนถังขยะมีไม่เพียงพอต่อปริมาณการทิ้งขยะตามจุดท่องเทียวต่างๆ การเก็บและทำลายไม่มีสถานที่ทำลายรวมทั้งชาวบ้านและนักท่องเที่ยวขาดจิตสำนึกร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมส่งผลให้มีการทำลายทัศนียภาพโดยรวมของชุมชน จึงจัดทำโครงการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและส่งเสริมให้ชุมชน นักท่องเที่ยวที่เข้าไปเยี่ยมชม มีนิสัย รักความสะอาด รักสิ่งแวดล้อม ปลูกจิตสำนึกให้มีส่วนร่วม และช่วยกันในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
1.2 คำถามวิจัย
1. ชุมชนบ้านคีรีวงมีสถานการณ์ปัญหาเรื่องขยะอย่างไร
2. ชุมชนบ้านคีรีวงจะมีแนวทางและวิธีการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วมอย่างไร
1.3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาขยะในชุมชนบ้านคีรีวง
2. เพื่อศึกษาแนวทาง และสร้างกลไกในการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน
1.4 สมมติฐานการวิจัย
1. จะมีแนวทางการแก้ปัญหาขยะในชุมชนอย่างยั่งยืน
2. สภาพปัญหาขยะในชุมชนบ้านคีรีวงลดลง
1.5 ขอบเขตของการวิจัย
1. ขอบเขตด้านพื้นที่ 4 หมู่บ้านในชุมชนคีรีวง ได้แก่หมู่บ้านคีรีวง บ้านคีรีทอง บ้านขุนคีรี และบ้านคีรีธรรม ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
2. ขอบเขตด้านประชากร กลุ่มองค์กรและอาสาสมัครในชุมชน และสถานศึกษาในชุมชน
3. ขอบเขตด้านเนื้อหา
เชิงทฤษฎี เรื่องของขยะ การเกิด ผลกระทบ แนวคิดของสิ่งที่ผู้วิจัยจะศึกษา
เชิงเทคนิค วิธีการวิจัย เป็นเนื้อหาที่จะนำไปสู่วิธีการปฏิบัติ เทคนิค วิธีการกำจัดขยะ
4. ระยะเวลา ช่วงเดือน กรกฎาคม – กันยายน 2550
1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ
ประชากร : หมายถึง ประชาชนหมู่บ้านในชุมชนคีรีวง ได้แก่หมู่บ้านคีรีวง บ้านคีรีทอง บ้านขุนคีรี และบ้านคีรีธรรม ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
ขยะ : (Waste) หมายถึง สิ่งของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตและอุปโภค ซึ่งเสื่อมสภาพจนใช้การไม่ได้หรือไม่ต้องการใช้แล้ว บางชนิดเป็นของแข็งหรือกากของเสีย (Solid waste) มี ผลเสียต่อสุขภาพทางกายและจิตใจ เนื่องจากความสกปรก เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค ทำให้เกิดมลพิษ
มูลฝอย : (Solid Waste) หมายถึง เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก
ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่
เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น
1.7 ประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัย
1. เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบ PAR
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสังเกต แบบสอบถาม
2. แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
***ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นปีที่องค์การสหประชาชาติกำหนดให้เป็นปีแห่งการพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ขยะมูลฝอย( Solid Waste ) หมายถึง เศษสิ่งเหลือใช้และสิ่งปฏิกูลต่างๆ ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์และสัตว์ รวมถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด หรือที่อื่นๆ ทั้งจากการผลิต การบริโภค การขับถ่าย การดำรงชีวิต และอื่นๆประเภทของขยะ 1. ขยะเปียก หมายถึง ขยะที่ย่อยสลายได้ง่าย เช่น เศษอาหาร พืชผัก เปลือกผลไม้ เป็นต้น 2. ขยะแห้ง หมายถึง ขยะที่ย่อยสลายได้ยาก เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ เศษผ้า ไม้ ยาง เป็นต้น 3. ขยะอันตราย ได้แก่ สารเคมี วัตถุมีพิษ ซากถ่านไฟฉาย หลอดไฟ และขยะติดเชื้อจากสถานพยาบาลแหล่งกำเนิดขยะมูลฝอย 1. ชุมชนพักอาศัย เช่น บ้านเรือน และอาคารชุด 2. ย่านการค้าและบริการ เช่น ตลาด ร้านค้า ธนาคาร ห้างสรรพสินค้า 3. สถานที่ราชการ ศาสนสถาน โรงเรียน 4. โรงพยาบาล 5. โรงงานอุตสาหกรรมผลกระทบของขยะมูลฝอย 1. ปัญหากลิ่นเหม็นจากขยะมูลฝอยสร้างความรำคาญให้แก่ชุมชนพักอาศัย 2. แหล่งน้ำเน่าเสียจากการที่ขยะมูลฝอยมีอินทรียสารเน่าเปื่อยปะปนอยู่ เป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์น้ำ รวมทั้งผลเสียในด้านการใช้แหล่งน้ำเพื่อการนันทนาการ 3. เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและสัตว์นำโรคต่างๆ เช่น หนู แมลงวัน เป็นต้น 4. การกำจัดมูลฝอยที่ไม่ถูกหลักวิชาการจะสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้ที่อาศัยข้างเคียง รวมทั้งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน 5. ทำให้ชุมชนขาดความสะอาด สวยงามและเป็นระเบียบ และไม่น่าอยู่ 6. การสูญเสียทางเศรษฐกิจ เช่น ชุมชนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บขนและกำจัดขยะ มูลฝอย ค่าชดเชยความเสียหายในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ และค่ารักษาพยาบาลหากประชาชนได้รับโรคภัยไข้เจ็บจากพิษของขยะมูลฝอย แนวทางจัดการขยะมูลฝอย 1. กำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกหลักวิชาการ เช่น การเผาในเตาเผาขยะ การฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะ และการหมักทำปุ๋ย เป็นต้น ซึ่งแต่ละวิธีมีความแตกต่างกันในด้านต้นทุนการดำเนินงาน ความพร้อมขององค์กร ปริมาณและประเภทของขยะ เป็นต้น 2. จัดการขยะ โดยอาศัยหลัก 5 R คือ - Reduce การลดปริมาณขยะ โดยลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์สิ้นเปลือง - Reuse การนำมาใช้ซ้ำ เช่น ขวดแก้ว กล่องกระดาษ กระดาษพิมพ์หน้าหลัง เป็นต้น - Repair การซ่อมแซมแก้ไขสิ่งของต่างๆ ให้สามารถใช้งานต่อได้ - Reject การหลีกเลี่ยงใช้สิ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ - Recycle การแปรสภาพและหมุนเวียนนำกลับมาใช้ได้ใหม่ โดยนำไปผ่านกระบวนการผลิตใหม่อีกครั้ง 3. การแยกขยะ เพื่อลดขยะที่ต้องนำไปกำจัดจริงๆ ให้เหลือน้อยที่สุด เช่น - ขยะแห้งบางชนิดที่สามารถแปรสภาพนำมากลับมาใช้ได้อีก ได้แก่ ขวดแก้ว โลหะ พลาสติก - ขยะเปียกสามารถนำมาหมักทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ - ขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย กระป๋องฉีดสเปรย์ ต้องมีวิธีกำจัดที่ปลอดภัย 4. ส่งเสริมการผลิตที่สะอาดในภาคการผลิต โดยลดการใช้วัสดุ ลดพลังงาน และลดมลพิษ เพิ่มศักยภาพการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน การนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานได้นานขึ้น 5. ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเอกชนมีส่วนรวมลงทุนและดำเนินการจัดการขยะ 6. ให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการจัดการขยะอย่างถูกหลักวิชาการ 7. รณรงค์และประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนเข้าใจและยอมรับว่าเป็นภาระหน้าที่ของตนเอง ในการร่วมมือกันจัดการขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในชุมชน มา : http://www.thaienvi.net/Storehouse/Pollution/Solid-Waste.asp
http://human.uru.ac.th/Major_online/SOC/09Poll/09Poll.htm
ขยะ (Waste) หมายถึง สิ่งของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตและอุปโภค ซึ่งเสื่อมสภาพจนใช้การไม่ได้หรือไม่ต้องการใช้แล้ว บางชนิดเป็นของแข็งหรือกากของเสีย (Solid waste) มี ผลเสียต่อสุขภาพทางกายและจิตใจ เนื่องจากความสกปรก เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค ทำให้เกิดมลพิษ
มูลฝอย (Solid Waste) หมายถึง เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก
ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่
เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น มลพิษที่เกิดจากขยะมูลฝอย (Waste pollution) หมายถึง สภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม อันเนื่องมาจากขยะมูลฝอย เช่น การทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำ และการเกิดกลิ่นเน่าเหม็นจากกองขยะที่มา : พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
ประเภทของขยะมูลฝอย
ขยะมูลฝอยโดยทั่วไปจะแบ่งตามภัยที่เกิดขึ้นกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม1.จำแนกตามพิษภัยที่เกิดขึ้นกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มี 2 ประเภท คือ1) ขยะทั่วไป (General waste) หมายถึง ขยะมูลฝอยที่มีอันตรายน้อย ได้แก่ พวกเศษอาหาร เศษกระดาษ เศษผ้า พลาสติก เศษหญ้าและใบไม้ ฯลฯ2) ขยะอันตราย (Hazardous waste) เป็นขยะที่มีภัยต่อคนและสิ่งแวดล้อม อาจมีสารพิษ ติดไฟหรือระเบิดง่าย ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น ไฟแช็กแก๊ส กระป๋องสเปรย์ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ หรืออาจเป็นพวกสำลีและผ้าพันแผลจากสถานพยาบาล
2.จำแนกตามลักษณะของขยะ มี 2 ประเภท คือ1) ขยะเปียกหรือขยะสด (Garbage) มีความชื้นปนอยู่มากกว่าร้อยละ 50 จึงติดไฟได้ยาก ส่วนใหญ่ได้แก่ เศษอาหาร เศษเนื้อ เศษผัก และผักผลไม้จากบ้านเรือน ร้านจำหน่ายอาหารและตลาดสด รวมทั้งซากพืชและสัตว์ที่ยังไม่เน่าเปื่อย ขยะประเภทนี้จะทำให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็น เนื่องจากแบคทีเรียย่อยสลายอินทรียสาร นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคโดยติดไปกับแมลง หนู และสัตว์อื่นที่มาตอมหรือกินเป็นอาหาร2) ขยะแห้ง (Rubbish) คือ สิ่งเหลือใช้ที่มีความชื้นอยู่น้อยจึงไม่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น จำแนกได้ 2 ชนิด คือ- ขยะที่เป็นเชื้อเพลิง เป็นพวกที่ติดไฟได้ เช่น เศษผ้า เศษกระดาษ หญ้า ใบไม้ กิ่งไม้แห้ง- ขยะที่ไม่เป็นเชื้อเพลิง ได้แก่ เศษโลหะ เศษแก้ว และเศษก้อนอิฐ
ที่มา : สวัสดิ์ โนนสูง.ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม.2543.
แหล่งกำเนิดขยะมูลฝอย
แหล่งกำเนิดของมูลฝอย แบ่งออกเป็น 8 ประเภท ตามลักษณะการใช้ที่ดิน ดังนี้1. ย่านที่พักอาศัย ( Residential area )2. ย่านพาณิชยกรรม ( Commercial area )3. สถานที่ราชการและสถาบันการศึกษา ( Institutional area )4. แหล่งที่มีการก่อสร้างหรือทุบทำลายอาคารสิ่งก่อสร้าง ( Construction and Demolition area )5. พื้นที่สาธารณะที่รัฐดูแล ( Municipal service area )6. ระบบบำบัดต่างๆ ( Treatment plant )7. ย่านอุตสาหกรรม ( Industrial area )8. ย่านเกษตรกรรม ( Agricultural area )องค์ประกอบของขยะมูลฝอยในประเทศไทยตัวอย่างมูลฝอยที่สุ่มออกมา จะนำมาแยกองค์ประกอบเป็นประเภทต่างๆ 10 ประเภท ได้แก่
1. ผัก ผลไม้ เศษอาหาร
2. กระดาษ
3. พลาสติก
4. ผ้า
5. ไม้
6. ยางและหนัง
7. แก้ว
8. โลหะ
9. หิน กระเบื้อง
10. อื่นๆ
1. ผัก ผลไม้และเศษอาหารหมายถึง เศษผัก เศษผลไม้ เศษอาหารที่เหลือจากการเตรียม การปรุง และการบริโภค ( ยกเว้น เปลือกหอย กระดูก ก้างปลา ซังข้าวโพด ก้านกระถิน ) เช่น ข้าวสุก เปลือกผลไม้ เนื้อสัตว์ ฯลฯ2. กระดาษหมายถึง วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเยื่อกระดาษ ตัวอย่างเช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ แมกกาซีน หนังสือต่างๆ ใบปลิว การ์ด ถุงกระดาษ กล่องกระดาษ กระดาษอัด ฯลฯ3. พลาสติกหมายถึง วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากพลาสติก ตัวอย่างเช่น ถุงพลาสติก ภาชนะพลาสติก ของเล่นเด็กที่ทำด้วยพลาสติก ผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กลาส ฯลฯ4. ผ้าหมายถึง สิ่งทอต่างๆ ที่ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ เช่น ฝ้าย ลินิน ผ้าไนลอน ตัวอย่างเช่น ด้าย เสื้อผ้า ผ้าเช็ดมือ ถุงเท้า ฯลฯ5. ไม้หมายถึง วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้ ไม้ไผ่ ฟาง หญ้า เศษไม้ รวมทั้งดอกไม้6. ยางและหนังหมายถึง วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากยางหรือหนัง เช่น เครื่องหนัง รองเท้า ลูกบอล กระเป๋าหนัง ฯลฯ7. แก้วหมายถึง วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากแก้ว ตัวอย่างเช่น กระจก ขวดแก้ว หลอดไฟ เครื่องแก้ว ฯลฯ8. โลหะหมายถึง วัสดุและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ทำจากโลหะ ตัวอย่างเช่น กระป๋องโลหะ สายไฟ foil ภาชนะต่างๆ ตะปู ฯลฯ9. หิน กระเบื้อง กระดูกสัตว์และเปลือกหอยหมายถึง เศษหิน เศษกระดูกสัตว์ เปลือกหอย ตัวอย่างเช่น ceramics เปลือกหอย กุ้ง ปู กระดูกสัตว์ ก้างปลา ฯลฯ10. อื่นๆหมายถึง วัสดุอื่นใดที่ไม่สามารถจัดกลุ่มเข้ากลุ่มต่างๆ ข้างต้น รวมถึง ฝุ่น ทราย เถ้า
http://www.environnet.in.th/evdb/info/waste/waste.html
นิยามขยะมูลฝอย
ขยะ (Waste) หมายถึง สิ่งของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตและอุปโภคซึ่งเสื่อมสภาพจนใช้การไม่ได้หรือไม่ต้องการใช้แล้ว บางชนิดเป็นของแข็งหรือกากของเสีย (Solid Waste) มีผลเสียต่อสุขภาพทางกายและจิตใจเนื่องจากความสกปรก เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคทำให้เกิดมลพิษและทัศนียภาพไม่สวยมูลฝอย (Solid Waste)มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่นมลพิษที่เกิดจากขยะมูลฝอย (Waste pollution) หมายถึง สภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมอันเนื่องมาจากขยะมูลฝอย เช่น การทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำและการเกิดกลิ่นเน่าเหม็นจากกองขยะ
ที่มา :พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
http://www.environnet.in.th/kids/knowledge.aspx?category=wasteขยะมูลฝอย
ในเมืองใหญ่ เราจะเห็นบางถนนสะอาด มีกระถางดอกไม้ ต้นไม้เรียงรายอยู่ข้างทาง แต่บางถนนสกปรก มีถุงใส่เศษอาหาร เปลือกผลไม้ ตกทิ้งอยู่กลาดเกลื่อน ถ้าเราเดินทางไปทางเรือ เราจะเห็นแม่น้ำลำคลองบางตอนใสสะอาด มีปลาว่ายไปมาในน้ำ บางตอนสกปรก มีขยะมูลฝอยลอยอยู่ทั่วไป น้ำมีสีดำ ส่งกลิ่นเน่าเหม็น เป็นที่น่ารังเกียจ เศษอาหาร ถุงพลาสติกที่ใช้แล้ว เศษผ้า ใบไม้ร่วง เรียกรวมว่า ขยะมูลฝอย ถ้าไม่ทิ้งให้เป็นที่เป็นทาง จะสร้างความสกปรก ขยะมูลฝอยที่กองอยู่บนดิน เช่น จำพวกเศษอาหาร นอกจากจะส่งกลิ่นเหม็นแล้ว ยังเป็นที่อยู่อาศัยของแมลงวันและหนู เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเรา ขยะมูลฝอยที่ทิ้งลงในแม่น้ำลำคลอง จะแพร่เชื้อโรคลงในน้ำ ถ้าผู้ที่อาศัยอยู่ริมน้ำ ใช้น้ำนั้นดื่มหรืออาบ อาจจะเป็นโรคท้องร่วงหรือโรคผิวหนังได้ ดังนั้นเราทุกคนจึงควรช่วยกันรักษาความสะอาด ไม่ทิ้งขยะมูลฝอยเกลื่อนกลาด ถ้าเป็นขยะมูลฝอยในบ้าน ควรรวบรวมใส่ถุง เพื่อส่งให้รถเก็บขยะต่อไป
เราสามารถกำจัดขยะมูลฝอยได้โดยการขุดหลุมฝัง เผาไฟ หรือขายต่อ ขยะมูลฝอยจำพวกเศษอาหาร อาจใช้วิธีขุดหลุมฝังใกล้โคนต้นไม้ แล้วกลบด้วยดิน เศษอาหารจะเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยต่อไปขยะมูลฝอยที่ติดไฟได้ เช่น เศษกระดาษ ใบไม้แห้ง อาจใช้วิธีเผาไฟ ขยะมูลฝอยบางจำพวกที่ยังมีประโยชน์ เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ ขวดแก้วที่ไม่แตกหรือของใช้พลาสติกต่าง ๆ อาจรวบรวมไว้ขายได้ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา มีของที่หมดประโยชน์ใช้สอย หมดคุณภาพหรือชำรุดแตกหักมากมาย สิ่งของทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นวัสดุชิ้นเล็ก ๆ เช่น เศษกระดาษ เศษอาหาร เศษผ้า แก้วแตก หลอดไฟที่เสียแล้ว หรือวัสดุชิ้นใหญ่ ๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ที่ชำรุดหักพัง พัดลมหรือตู้เย็นที่เสียใช้การไม่ได้ เรียกว่า ขยะมูลฝอย ทั้งสิ้น เราพบขยะมูลฝอยได้ตามบ้านเรือนที่พักอาศัย ร้านค้า ตลาด โรงเรียน โรงพยาบาล ตามท้องถนน และในแม่น้ำลำคลองทั่วไป ขยะมูลฝอยเหล่านี้ ถ้าทิ้งกระจัดกระจาย ไม่เป็นที่เป็นทาง จะทำให้บ้านเมืองสกปรกไม่เป็นระเบียบ ขยะมูลฝอยที่บูดเน่านอกจากจะส่งกลิ่นเหม็น รบกวนผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคต่าง ๆ อีกด้วย ขยะมูลฝอยแยกออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1. เศษอาหารและพืชผัก ที่เหลือจากการรับประทานและการประกอบอาหาร 2. เศษแก้วแตก กระเบื้องแตก เศษวัสดุก่อสร้าง เช่น ไม้ อิฐ หิน และอื่น ๆ 3. วัสดุชิ้นใหญ่ เช่น รถจักรยานพัง หรือเครื่องไฟฟ้าที่ใช้การไม่ได้ ฯลฯ 4. วัสดุที่มีสารพิษ เช่น หลอดไฟ หลอดนีออน แบตเตอรี่ที่ใช้การไม่ได้ วัสดุติดเชื้อ ต่าง ๆ เช่น ขยะมูลฝอยที่เก็บได้จากโรงพยาบาล และวัสดุสารเคมีจากโรงงาน เป็นต้น 5. วัสดุที่ยังมีสภาพดี เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ กล่องกระดาษ ขวดที่ไม่แตก ขยะมูล ฝอยประเภทนี้ อาจนำไปขายต่อได้
การกำจัดขยะมูลฝอยเริ่มตั้งแต่การเก็บรวบรวม การขนย้ายไปยังโรงงานและการทำลายขยะมูลฝอย เมื่อเรารวบรวมขยะมูลฝอยทิ้ง ควรแยกให้เป็นประเภท เพื่อช่วยให้ง่ายต่อการเก็บและทำลาย เศษแก้ว เศษกระจก และของมีคมต่าง ๆ ควรแยกต่างหาก ไม่ทิ้งปะปนกับขยะมูลฝอยอื่น ๆ เพราะอาจจะบาดหรือตำผู้อื่นได้ เราควรเก็บขยะมูลฝอยใส่ถุงและผูกปากถุงให้เรียบร้อย ใส่ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด เพื่อป้องกันสุนัขคุ้ยเขี่ย
การขนย้ายได้รับการปรับปรุงขึ้นมาก ตามเมืองใหญ่และในเขตเทศบาล จะมีรถไปเก็บขยะมูลฝอยถึงบ้าน ในบางเขตจะมีถังรองรับขยะมูลฝอยตั้งไว้ริมถนน หรือตามบริเวณที่มีขยะมูลฝอยมาก เช่น ตามโรงเรียน ตลาด ศูนย์การค้า ฯลฯ เราควรผูกปากถุงให้เรียบร้อย แล้วขนไปใส่ลงในถังรองรับที่จัดตั้งไว้ตามจุดต่าง ๆ เมื่อถังเต็มจะมีรถมาขนไปยังโรงงานเพื่อทำลายต่อไป
การกำจัดขยะมูลฝอย มีหลายวิธี เช่น การเผากลางแจ้ง การเทกองบนพื้นดิน การนำไปทิ้งทะเล แต่วิธีการเหล่านี้ไม่ถูกต้อง เพราะทำให้เกิดภาวะมลพิษต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น การเผากลางแจ้ง ทำให้เกิดควันและฝุ่นละอองในอากาศ วิธีกำจัดที่ถูกต้อง คือ การเผาในเตาเผาขยะ การฝังกลบ การหมักทำปุ๋ย และการแปรสภาพเป็นพลังงาน การเผาขยะ สามารถทำลายขยะมูลฝอยได้เกือบทุกชนิด เตาเผามีหลายชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะของขยะมูลฝอย ถ้าเป็นประเภทที่ติดไฟง่าย เราสามารถใช้เตาเผาชนิดที่ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงช่วย แต่ถ้าขยะมูลฝอยมีความชื้นมากกว่าร้อยละ 50 เตาเผาขยะต้องเป็นชนิดที่ใช้เชื้อเพลิงจำพวกน้ำมันเตาช่วยในการเผาไหม้ การเผาในเตาเผาใช้เนื้อที่น้อย ส่วนที่เหลือจากการเผาไหม้ เช่น ขี้เถ้า สามารถนำไปใช้ถมที่ดินหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้
การฝังกลบ ทำได้โดยนำขยะมูลฝอยมาเทลงในพื้นที่ที่เตรียมเอาไว้แล้วกลบด้วยดิน และบดให้แน่นอีกครั้งหนึ่ง การฝังกลบไม่สร้างความรำคาญและเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม พื้นที่บางแห่งเมื่อถมเสร็จเรียบร้อย อาจนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ เช่น ทำเป็นสวนหย่อม สนามกีฬา เป็นต้น การแปรสภาพขยะมูลฝอยเป็นพลังงาน คือการนำขยะมูลฝอยที่ติดไฟได้มาทำเป็นเชื้อเพลิงสำหรับต้มน้ำ หรือผลิตไอน้ำเพื่อไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้
การหมักทำปุ๋ย ใช้วิธีนำขยะมูลฝอยที่ส่วนมากเน่าเปื่อยได้ มาผ่านขบวนการบดหมักทำลายของโรงงานกำจัดขยะมูลฝอย เพื่อให้เกิดการย่อยสลายตัว ขยะมูลฝอยที่ผ่านการหมักแล้ว จะถูกนำไปผึ่งต่อที่ลานผึ่งประมาณ 40-60 วัน เพื่อให้การย่อยสลายเป็นไปโดยสมบูรณ์ จากนั้นจะถูกนำไปร่อนแยกเอาส่วนที่จะใช้เป็นปุ๋ยต่อไป
ขยะมูลฝอยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกวันตามจำนวนประชากร ถ้าเรามักง่าย ไม่ทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทาง จะเป็นปัญหาต่อสภาพแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเรา กองขยะมูลฝอยเป็นแหล่งสะสมสิ่งสกปรก นอกจากจะส่งกลิ่นเหม็น ทำให้อากาศเป็นพิษ ยังเป็นที่อาศัยของสัตว์นำโรค เช่น ยุง แมลงวัน และหนู เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคอย่างดี เราทุกคนจึงควรช่วยกันทิ้งขยะมูลฝอยให้เป็นระเบียบ บ้านเมืองของเราจะได้สวยงาม สะอาด ร่มรื่น และไม่มีมลพิษ เศษกระดาษ เศษถุงพลาสติก เศษผัก เศษอาหาร ใบไม้ ซากสัตว์ รวมถึงวัตถุอื่น ๆ ที่มนุษย์ไม่ต้องการ เรียกว่า ขยะมูลฝอย ขยะมูลฝอยเกิดจากกิจกรรมในบ้านเรือน โรงงาน โรงเรียน ตลาด ร้านค้า ข้างถนน บริเวณที่มีการก่อสร้าง และทุกแห่งที่มีมนุษย์อยู่ เป็นต้น ในบ้านของเราก็มีขยะมูลฝอย ถ้าเราทิ้งขยะเกลื่อนกลาดไม่เป็นที่เป็นทาง บ้านก็จะสกปรก ขาดความสวยงามและความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นที่รังเกียจแก่ผู้พบเห็น และยังมีกลิ่นเหม็นที่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ที่อยู่อาศัยและบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย นอกจากนี้ กองขยะมูลฝอยยังเป็นแหล่งอาหาร แหล่งเพาะพันธุ์ และเป็นที่หลบซ่อนของสัตว์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ คือ เป็นพาหะนำโรค เช่น หนู แมลงวัน แมลงสาบและยุง ตลอดจนสิ่งมีชีวิตที่มองไม่เห็น คือ เชื้อโรคต่าง ๆ อีกด้วย การทิ้งขยะมูลฝอยให้เป็นที่เป็นทาง คือทิ้งขยะมูลฝอยลงในภาชนะ เช่น ถังที่มีฝาปิด ถ้าใช้ถุงพลาสติก เมื่อเต็มแล้วต้องผูกปากถุงให้มิดชิดเพื่อป้องกันกลิ่นเหม็น และป้องกันไม่ให้สัตว์คุ้ยเขี่ย ทั้งนี้จะช่วยป้องกันความสกปรก และอันตรายที่เกิดจากขยะมูลฝอย เช่น เศษแก้วบาดเท้า การเก็บขยะมูลฝอยให้มิดชิด ทำให้บ้านเมืองของเราสะอาดเป็นระเบียบ สวยงามน่าอยู่อาศัย ขยะมูลฝอยเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับมนุษย์ เมื่อมนุษย์ทำสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ ปรุงอาหารหรือรับประทานอาหาร จะมีเศษหรือสิ่งที่ไม่ต้องการเหลือ เช่น เศษไม้เหลือจากการแกะสลัก ถุงพลาสติกใส่ของที่ซื้อมา กระดาษหนังสือพิมพ์ที่อ่านแล้ว และเศษอาหารเหลือจากการรับประทาน เป็นต้น ขยะมูลฝอยที่กองหมักหมมเป็นสิ่งสกปรก ส่งกลิ่นเน่าเหม็น มีแมลงวันตอม หนู แมลงสาบ มด และเชื้อโรคต่าง ๆ อาศัยอยู่ในกองขยะมูลฝอย ซึ่งเป็นแหล่งอาหารและที่เพาะพันธุ์ของมัน การทิ้งขยะมูลฝอยลงบนพื้นถนนหรือลงในแม่น้ำลำคลองนั้น นอกจากจะทำให้บ้านเมืองดูไม่เป็นระเบียบแล้ว ขยะมูลฝอยยังเป็นสิ่งกีดขวางการจราจรอีกด้วย การทิ้งขยะมูลฝอยลงในลำน้ำจะทำให้ลำน้ำตื้นเขิน และน้ำไหลเวียนไม่สะดวก ขยะมูลฝอยที่มีปริมาณมาก จะทำให้น้ำในลำคลองเน่าเสีย และส่งผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำและสัตว์น้ำที่อาศัยในแม่น้ำลำคลองนั้น กองขยะมูลฝอยที่ถูกทิ้งไว้นาน ๆ จะเน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณข้างเคียง เศษชิ้นส่วนของขยะมูลฝอยบางชนิดมีน้ำหนักเบา จะฟุ้งกระจายไปในอากาศ ส่งกลิ่นเหม็น และฝุ่นที่เกิดจากเศษขยะทำให้คุณภาพอากาศเสียไปด้วย เมื่อเราเป็นผู้ที่ทำให้เกิดขยะมูลฝอยขึ้นมา เราทุกคนจึงควรช่วยกันรักษาความสะอาด ป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากขยะมูลฝอย การทิ้งขยะให้ถูกต้อง คือ ทิ้งขยะมูลฝอยในภาชนะที่จัดไว้สำหรับทิ้งขยะมูลฝอย แล้วจัดการเผาหรือฝังเสีย ในท้องที่ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ทางการเก็บขยะมูลฝอย เราก็ควรใส่ขยะลงในถุงพลาสติกผูกปากให้แน่น หรือใส่ภาชนะที่แข็งแรง เช่น ถังที่ไม่รั่วซึม มีฝาปิดมิดชิด ไม่ควรใช้เข่ง เพื่อที่พนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย จะได้นำไปกำจัดที่สถานที่กำจัดขยะได้สะดวก
ประเภทของขยะมูลฝอย
ขยะมูลฝอยอาจแบ่งออกได้ตามลักษณะส่วนประกอบของขยะมูลฝอย ได้เป็น 10 ประเภท ได้แก่
1. ผักผลไม้ และเศษอาหาร ได้แก่ เศษผัก เศษผลไม้ เศษอาหารที่เหลือจากการปรุงอาหารและเหลือจากการบริโภค เช่น ข้าวสุก เปลือกผลไม้ เนื้อสัตว์ ฯลฯ
2. กระดาษ ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเยื่อกระดาษ เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ใบปลิว ถุงกระดาษ กล่องกระดาษ ฯลฯ
3. พลาสติก ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก เช่น ถุงพลาสติก ภาชนะพลาสติก ของเล่นเด็ก ผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กลาส ฯลฯ
4. ผ้า ได้แก่ สิ่งทอต่าง ๆ ที่ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติและใยสังเคราะห์ เช่น ฝ้าย ลินินขนสัตว์ ผ้าไนลอน ได้แก่ เศษผ้า ผ้าเช็ดมือ ถุงเท้า ผ้าขี้ริ้ว ฯลฯ
5. แก้ว ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแก้ว เช่น เศษกระจก ขวด หลอดไฟ เครื่องแก้ว ฯลฯ
6. ไม้ ได้แก่วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ ไม้ไผ่ ฟาง หญ้า เศษไม้ เช่น กล่องไม้เก้าอี้ โต๊ะ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน ฯลฯ
7. โลหะ ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทำจากโลหะ เช่น กระป๋อง ตะปู ลวดภาชนะที่ทำจากโลหะต่าง ฯลฯ
8. หิน กระเบื้อง กระดูก และเปลือกหอย ได้แก่ เศษหิน เปลือกหอย เศษกระดูกสัตว์เช่น ก้างปลา เครื่องปั้นดินเผา เปลือกหอย กุ้ง ปู เครื่องเคลือบ ฯลฯ
9. ยางและหนัง ได้แก่ วัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางและหนัง เช่น รองเท้า กระเป๋าลูกบอล ฯลฯ
10. วัสดุอื่น ๆ ได้แก่ วัสดุที่ไม่สามารถจัดเข้ากลุ่มต่าง ๆ ข้างต้น นอกจากนี้เราอาจแบ่งประเภทของขยะมูลฝอยทั้ง 10 ประเภท ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1. ขยะมูลฝอยที่เผาไหม้ได้ ได้แก่ กระดาษ ผ้าหรือสิ่งทอ ผักผลไม้และเศษอาหารพลาสติก หญ้าและไม้ 2. ขยะมูลฝอยที่เผาไหม้ไม่ได้ ได้แก่ เหล็กหรือโลหะอื่น ๆ แก้ว หิน กระเบื้องเปลือกหอย ฯลฯ
แหล่งกำเนิดขยะมูลฝอย
ขยะมูลฝอยมีแหล่งกำเนิดต่าง ๆ กัน ซึ่งจะมีผลต่อชนิดและส่วนประกอบของขยะมูลฝอยดังได้สรุปรวมไว้ในตารางแสดงแหล่งกำเนิดของขยะมูลฝอย
แหล่งกำเนิดของขยะมูลฝอย
ชนิดของขยะมูลฝอย
ส่วนประกอบ
แหล่งกำเนิด
ขยะเปียก
ขยะที่เกิดจากการเตรียมการประกอบ หรือบริการอาหาร ขยะจากตลาด ขยะจากการผลิตอาหาร
อาคารบ้านเรือน ภัตตาคาร ร้านค้า สถานที่ทำงาน ตลาดสด
ขยะแห้งที่ติดไฟได้
พวกที่เผาไหม้ได้ เช่น กระดาษหีบหรือกล่อง เศษไม้ กิ่งไม้ใบไม้ หญ้า เครื่องเรือน เครื่องใช้ ฯลฯ
อาคารบ้านเรือน ภัตตาคารร้านค้า สถานที่ทำงานตลาดสด
ขยะแห้งที่ไม่ติดไฟ
พวกที่เผาไหม้ไม่ได้ เช่น เหล็กและโลหะอื่น ๆ กระป๋องเครื่องเรือน เครื่องใช้ที่ทำจากโลหะ แก้ว เครื่องปั้นดินเผา
อาคารบ้านเรือน ภัตตาคารร้านค้า สถานที่ทำงานตลาดสด
ขี้เถ้า
สิ่งที่เหลือจากการเผาไหม้
อาคารบ้านเรือน ภัตตาคารสถานที่ทำงาน ตลาดสด
ขยะที่เก็บกวาดจากถนน
ดิน เศษหิน ผง ฝุ่น ใบไม้
ถนน ข้างถนน บริเวณที่ดินรกร้างว่างเปล่า
ซากสัตว์
สุนัข แมว ฯลฯ
ถนน ข้างถนน บริเวณที่ดินรกร้างว่างเปล่า
เศษชิ้นส่วนของยานพาหนะ
ซากรถยนต์/ยานพาหนะอื่น ๆ
อู่ซ่อมรถยนต์ สถานที่ราชการ
เศษสิ่งก่อสร้าง
ไม้ อิฐ หิน เศษคอนกรีต
บริเวณที่มีการก่อสร้าง
ขยะจากกิจการอุตสาหกรรม
มีลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรม แต่ละประเภท
โรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า
ขยะพิเศษ
ขยะที่เป็นสารพิษ ขยะติดเชื้อวัตถุระเบิด วัตถุแผ่รังสี
ที่พักอาศัย โรงพยาบาลสถาบันต่าง ๆ
ขยะจากการเกษตร
มูลสัตว์ เศษหญ้า เศษฟาง
เรือกสวน ได้แก่ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์
ขยะจากการบำบัดน้ำเสีย
พวกของแข็งที่ติดตะแกรง
โรงงานบำบัดน้ำเสีย
โรงกรองน้ำ
ตะกอนจากกระบวนการ
โรงกรองน้ำ
ผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อสภาวะแวดล้อม
ขยะมูลฝอยนั้น นับวันจะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนของประชากร ถ้าหากไม่มีการกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว ปัญหาความสกปรกต่าง ๆ ที่เกิดจากขยะมูลฝอย จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ถ้ามองกันอย่างผิวเผินแล้ว ขยะมูลฝอยนั้นไม่ได้มีผลกระทบต่อมนุษย์มากนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยตรงต่อมนุษย์ ยังอยู่ในขั้นที่ไม่รุนแรงมากนัก ผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงไม่ชัดเจนเท่าไร แต่ในความเป็นจริงแล้ว ขยะมูลฝอยจะก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก และจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ด้วย ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้เนื่องจาก
1. ขยะมูลฝอยเป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงนำโรค เช่น แมลงวันแมลงสาบ ยุง ฯลฯ และเป็นที่ซุกซ่อนของหนูและสัตว์อื่น ๆ
2. ขยะมูลฝอย ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและก่อให้เกิดความรำคาญ
3. ขยะมูลฝอยที่ทิ้งเกลื่อนกลาด ถูกลมพัดกระจัดกระจายไปตกอยู่ตามพื้น ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นสกปรก ขาดความสวยงาม เป็นที่รังเกียจแก่ผู้พบเห็น และผู้ที่อาศัยบริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้ขยะมูลฝอยที่ตกอยู่หรือถูกทิ้งลงในคูคลอง หรือทางระบายน้ำ จะไปสกัดกั้นการไหลของน้ำ ทำให้แหล่งน้ำสกปรกและเกิดการเน่าเสีย
4. น้ำเสียที่เกิดจากกองขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ เป็นน้ำเสียที่มีความสกปรกสูงมาก ซึ่งมีทั้งสารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ เชื้อโรค และสารพิษต่าง ๆ เจือปนอยู่ เมื่อน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยไหลไปตามพื้นดินบริเวณใด ก็จะทำให้บริเวณนั้นเกิดความสกปรกและความเสื่อมโทรมของพื้นดินและอาจเปลี่ยนสภาพ ทำให้ดินมีคุณสมบัติเป็นดินด่างหรือดินกรดได้ ในกรณีที่น้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยไหลลงสู่แหล่งน้ำก็จะทำให้คุณภาพน้ำเสียไป ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำผิวดินหรือแหล่งน้ำใต้ดินก็ตาม ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้ใช้น้ำและสิ่งที่มีชีวิตที่อาศัยในแหล่งน้ำ น้ำที่สกปรกมากหรือมีสารพิษเจือปนอยู่ ก็อาจทำให้สัตว์น้ำตายในเวลาอันสั้น นอกจากนั้นสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่เจือปนในน้ำ ก็จะส่งผลต่อระบบนิเวศของน้ำทำให้สัตว์น้ำที่มีค่าบางชนิดสูญพันธุ์ไป นอกจากนี้น้ำที่มีสิ่งสกปรกเจือปนย่อมไม่เหมาะแก่การอุปโภคบริโภค แม้จะนำไปปรับปรุงคุณภาพแล้วก็ตาม เช่น การทำระบบน้ำประปา ซึ่งก็ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำมากขึ้น 5. ขยะมูลฝอยทำให้เกิดมลพิษแก่อากาศ ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ในเขตชุมชน หรือที่กองทิ้งไว้ในแหล่งกำจัดซึ่งไม่มีการฝังกลบ หรือขณะที่ทำการเก็บขนโดยพาหนะที่ไม่มีการปกปิดอย่างมิดชิด ขยะมูลฝอยเหล่านั้นส่งกลิ่นเหม็นน่ารังเกียจออกมา เศษชิ้นส่วนของขยะมูลฝอยจะสามารถปลิวไปในอากาศ ทำให้เกิดความสกปรกแก่บรรยากาศ ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์และความสกปรกให้กับบริเวณข้างเคียงได้นอกจากนี้ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้นาน ๆ จะมีก๊าซที่เกิดจากการหมักขึ้น ได้แก่ ก๊าซชีวภาพ ซึ่งติดไฟหรือเกิดระเบิดขึ้นได้ และก๊าซไข่เน่า (ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์) ซึ่งมีกลิ่นเหม็น
การแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย
ขยะมูลฝอยมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทำให้เกิดการปนเปื้อนของพื้นดิน แหล่งน้ำและอากาศ ทำให้บ้านเมืองไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่เป็นที่เจริญของผู้ที่ได้พบเห็น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยทั่วไป การแก้ไขปัญหาของขยะมูลฝอย จึงควรปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขผลเสียที่จะเกิดขึ้น สำหรับการป้องกันและแก้ไขที่ดีควรพิจารณาถึงต้นเหตุที่ก่อให้เกิดขยะมูลฝอยขึ้นมา ซึ่งก็คงจะหมายถึง มนุษย์ หรือผู้สร้างขยะมูลฝอย นั้นเอง การป้องกันและการแก้ไขปัญหาของขยะมูลฝอย เริ่มต้นด้วยการสร้างจิตสำนึกแก่มนุษย์ให้รู้จักรับผิดชอบในการรักษาความสะอาดทั้งในบ้านเรือนของตัวเอง และภายนอกบ้าน ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง สถานที่ทำงาน หรือที่สาธารณะอื่น ๆ ให้รู้จักทิ้งขยะมูลฝอยลงในภาชนะให้เป็นที่เป็นทาง ไม่มักง่ายทิ้งขยะเกลื่อนกลาด ทั้งนี้เป็นการช่วยให้พนักงานเก็บขยะนำไปยังสถานที่กำจัดได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
การเก็บและกำจัดขยะมูลฝอย
การเก็บและกำจัดขยะมูลฝอย รวมถึงการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยเพื่อส่งไปกำจัดที่สถานกำจัดขยะมูลฝอย มีขั้นตอนดังนี้ 1. การเก็บรวบรวมขยะมูลฝอย การเก็บรวบรวมขยะมูลฝอย คือการเก็บขยะมูลฝอยมาเก็บขนไปเทใส่รวบรวมในรถบรรทุกขยะ และการที่พนักงานกวาดถนนเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยไว้ให้รถขยะ ขยะมูลฝอยที่รวบรวมจากแหล่งต่าง ๆ จะถูกนำไปถ่ายใส่ในรถบรรทุกขยะ เพื่อที่จะขนส่งต่อไปยังสถานกำจัดขยะมูลฝอย การเก็บรวบรวมขยะที่ถูกต้องภายในบ้านควรใช้ภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด น้ำไม่สามารถจะรั่วซึมได้ เช่น ถังเหล็กหรือถังพลาสติก การใช้ถังเหล็กอาจจะผุกร่อนได้ง่ายกว่าถังพลาสติก ไม่ควรใช้เข่งในการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอย
2. การขนส่งขยะมูลฝอยการขนส่งขยะมูลฝอย เป็นการนำขยะมูลฝอยที่เก็บรวบรวมได้จากแหล่งชุมชนต่าง ๆ ใส่ \ในรถบรรทุกขยะเพื่อนำไปยังสถานที่กำจัด ซึ่งอาจเป็นการขนส่งโดยตรงจากแหล่งกำเนิดขยะมูลฝอยไปยังสถานกำจัดเลยทีเดียว หรืออาจขนขยะมูลฝอยไปพักที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งเรียกว่าสถานีขนถ่ายขยะก่อนจะนำไปยังแหล่งกำจัดก็ได้ 3. การกำจัดขยะมูลฝอย วิธีการกำจัดขยะมูลฝอยที่ใช้ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีหลายวิธี เช่น นำไปกองทิ้งบนพื้นดิน นำไปทิ้งลงทะเล หมักทำปุ๋ย เผากลางแจ้ง เผาในเตาเผาขยะ และฝังกลบอย่างถูกหลักวิชาการ เป็นต้น การกำจัดขยะมูลฝอยดังที่กล่าวนั้น บางวิธีก็เป็นการกำจัดที่ไม่ถูกต้องทำให้เกิดภาวะเป็นพิษต่อสภาพแวดล้อม และมีผลกระทบต่อสุขภาพของคนด้วย วิธีการกำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกหลักวิชาการ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ไม่ทำให้บริเวณที่กำจัดขยะเป็นแหล่งอาหาร แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรคเช่น แมลงวัน ยุง และแมลงสาบ เป็นต้น (2) ไม่ทำให้เกิดการปนเปื้อนแก่แหล่งน้ำและพื้นดิน (3) ไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม (4) ไม่เป็นสาเหตุแห่งความรำคาญ อันเนื่องมาจาก เสียง กลิ่น ควัน ผงและฝุ่นละออง
วิธีการกองทิ้งบนดิน การนำไปทิ้งทะเล รวมทั้งการเผากลางแจ้ง ถือว่าเป็นวิธีการกำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้อง เพราะทำให้เกิดปัญหาภาวะมลพิษต่อสภาพแวดล้อม สำหรับวิธีที่ยอมรับทั่วไปว่าเป็นวิธีกำจัดที่ถูกต้อง คือ การเผาในเตาเผา การฝังกลบ และการทำปุ๋ย
การกำจัดขยะมูลฝอยโดยใช้เตาเผาขยะ การเผาในเตาเผา เป็นการเผาไหม้ทั้งส่วนที่เป็นของแข็ง ของเหลง และก๊าซ ซึ่งต้องใช้ความร้อนระหว่าง 1,300-1,800 องศาฟาเราไฮต์ จึงจะทำให้การเผาไหม้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากความแตกต่างและลักษณะขององค์ประกอบของขยะมูลฝอยในแต่ละแห่ง ดังนั้นรูปแบบของเตาเผาจึงแตกต่างกันไปด้วย เป็นต้นว่า ถ้าชุมชนที่มีขยะมูลฝอยซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนิดที่เผาไหม้ได้ง่าย เตาเผาขยะอาจใช้ชนิดที่ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงอย่างอื่นช่วยในการเผาไหม้ แต่ถ้าองค์ประกอบของขยะมูลฝอยมีส่วนที่เผาไหม้ได้ง่ายต่ำกว่าร้อยละ 30 (โดยน้ำหนัก) หรือมีความชื้นมากกว่าร้อยละ 50 เตาเผาที่ใช้ต้องเป็นชนิดที่ต้องมีเชื้อเพลิงช่วยในการเผาไหม้ นอกจากนี้เตาเผาขยะมูลฝอยทุกแบบ จะต้องมีกระบวนการควบคุมอุณหภูมิ ควัน ไอเสีย ผงและขี้เถ้าที่อาจปนออกไปกับควันและปลิวออกมาทางปล่องควัน เตาเผาที่มีประสิทธิภาพจะต้องลดปริมาณของขยะมูลฝอยลงไปจากเดิมให้มีเหลือน้อยที่สุด และส่วนที่เหลือจากการเผาไหม้นั้นก็จะต้องมีลักษณะคงรูป ไม่มีการย่อยสลายได้อีกต่อไป และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างปลอดภัย
ข้อดี 1. ใช้พื้นที่ดินน้อย เมื่อเทียบกับวิธีฝังกลบ 2. สามารถทำลายขยะมูลฝอยได้เกือบทุกชนิด 3. สามารถสร้างเตาเผาในพื้นที่ที่ไม่ห่างไกลจากแหล่งกำเนิดขยะ ทำให้ประหยัดค่าขนส่ง 4. ไม่ค่อยกระทบกระเทือนเมื่อสภาพแวดล้อมของลมฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลง 5. ส่วนที่เหลือจากการเผาไหม้ (ขี้เถ้า) สามารถนำไปถมที่ดินได้ หรือทำวัสดุก่อสร้างได้
ข้อเสีย ค่าลงทุนในการก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม บำรุงรักษาค่อนข้างสูง และอาจจะเกิดปัญหาภาวะมลพิษทางอากาศได้ การกำจัดขยะมูลฝอยโดยวิธีการฝังกลบ วิธีการฝังกลบที่ถูกสุขลักษณะนั้น จะต้องไม่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อสภาพแวดล้อม รวมทั้งเหตุรำคาญอื่น ๆ เช่น กลิ่นเหม็น ควัน ฝุ่นละออง และการปลิวของกระดาษ พลาสติกและอื่น ๆ ซึ่งจะต้องควบคุมให้อยู่ภายในขอบเขตจำกัด ไม่ทำให้เกิดการเสื่อมเสียแก่ทัศนียภาพของพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้ยังจะต้องมีมาตรการในการควบคุมดูแลดังนี้
1. ต้องควบคุมไม่ให้มีการนำของเสียอันตรายมากำจัดรวมกับขยะมูลฝอยทั่วไปในบริเวณที่ฝั่งกลบขยะ นอกจากจะมีมาตรการการกำจัดโดยวิธีการพิเศษตามลักษณะของของเสียนั้น ๆ
2. ต้องควบคุมให้ขยะที่ฝังกลบถูกกำจัดอยู่เฉพาะภายในขอบเขตที่กำหนดไว้ ทั้งบนพื้นผิวดินและใต้ดิน
3. ต้องกำจัดน้ำเสียจากกองขยะอย่างถูกต้อง
4. ต้องตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เช่น ตรวจสอบการปนเปื้อนของแหล่งน้ำใต้ดินบริเวณใกล้เคียง
5. ต้องคำนึงถึงทัศนียภาพของพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง เช่น การจัดให้มีสิ่งป้องกันการปลิวของขยะหรืออาจปลูกต้นไม้ล้อมรอบ เป็นต้น
การฝังกลบเป็นวิธีการที่ใช้ในการกำจัดขยะมูลฝอยที่พื้นดินอย่างถูกต้องตามหลักสุขภิบาล ไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญและเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อม ควรเทขยะมูลฝอยลงไปแล้วเกลี่ยให้กระจาย บดทับให้แน่น แล้วใช้ดินหรือวัสดุอื่นที่มีดินปนอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 กลบแล้วบดทับให้แน่นอีกครั้งหนึ่ง วิธีการฝังกลบขยะมูลฝอย อาจแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
1. แบบถมที่ เป็นการฝังกลบขยะมูลฝอลในพื้นที่ที่เป็นหลุม เป็นบ่อ หรือเป็นพื้นที่ที่ต่ำอยู่ก่อนแล้ว และต้องการถมให้พื้นที่แห่งนั้นสูงขึ้นกว่าระดับเดิม เช่น บริเวณบ่อดินลูกรัง ริมตลิ่ง เหมืองร้าง หรือบริเวณที่ดินที่ถูกขุดออกไปทำประโยชน์อย่างอื่นมาก่อนแล้ว เป็นต้น ในพื้นที่เช่นนี้เราเทขยะมูลฝอยลงไป แล้วเกลี่ยขยะให้กระจายพร้อมกับบดทับให้แน่น จากนั้นก็ใช้ดินกลบ แล้วจึงบดทับให้แน่นอีกเป็นครั้งสุดท้าย 2. แบบขุดเป็นร่อง เป็นการกำจัดขยะมูลฝอยแบบฝังกลบในพื้นที่ราบ ซึ่งเป็นที่สูงอยู่แล้วและไม่ต้องการที่จะให้พื้นที่แห่งนั้นสูงเพิ่มขึ้นไปอีก หรือสูงขึ้นไม่มากนัก แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการใช้พื้นที่ฝังกลบขยะมูลฝอยให้ได้จำนวนมาก ๆ ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีขุดเป็นร่องก่อน การขุดร่องต้องให้มีความกว้างประมาณ 2 เท่าของขนาดเครื่องจักรที่ใช้ เพื่อความสะดวกต่อการทำงานของเครื่องจักร และมีความยาวตลอดพื้นที่ที่จะฝังกลบ ส่วนความลึกขึ้นอยู่กับระดับน้ำใต้ดิน จะลึกเท่าไรก็ได้แต่ต้องไม่ให้ถึงระดับน้ำใต้ดิน ส่วนมากจะขุดลึกประมาณ 2-3 เมตร และต้องทำให้ลาดเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อไม่ให้น้ำขังในร่องเวลาฝนตก ดินที่ขุดขึ้นมาจากร่องก็กองไว้ทางด้านใดด้านหนึ่ง สำหรับใช้เป็นดินกลบต่อไป นอกจากนั้นยังสามารถใช้ทำเป็นคันดิน สำหรับกั้นมิให้ลมพัดขยะออกไปนอกบริเวณได้อีกด้วย ส่วนวิธีการฝังกลบขยะมูลฝอยก็ทำเช่นเดียวกับแบบถมที่คือ เมื่อเทขยะมูลฝอยลงไปในร่องแล้วก็เกลี่ยให้กระจาย บดทับแล้วใช้ดินกลบและบดทับอีกครั้งหนึ่ง เมื่อฝังกลบขยะมูลฝอยในพื้นที่นั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว อาจใช้พื้นที่นั้นเป็นประโยชน์ เช่น เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สนามเทนนิส สนามกอล์ฟ ที่จอดรถ สนามกีฬา ศูนย์การค้าหรือก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยที่ไม่สูงเกินไป หรืออาจปรับปรุงคุณภาพดินให้เหมาะแก่การปลูกพืช ซึ่งอาจจะนำหญ้า ไม้พุ่ม ไม้ยืนต้นมาปลูก เพื่อตกแต่งให้สวยงามเป็นระเบียบยิ่งขึ้น
การทำปุ๋ย ขยะมูลฝอยส่วนที่เป็นขยะเปียกนั้น ส่วนใหญ่เป็นสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ง่าย ดังนั้นการนำไปกองทิ้งไว้ก็จะบูดเน่าและส่งกลิ่นเหม็น แต่ถ้านำขยะส่วนนี้ไปหมักด้วยวิธีการที่ถูกต้องกลิ่นเหม็นจะลดลงไปได้อย่างมาก นอกจากนั้นผลิตผลที่ได้ยังสามารถไปใช้เป็นปุ๋ยสำหรับบำรุงดินเพื่อการเกษตรได้อีกด้วย การหมักขยะมูลฝอยเพื่อทำเป็นปุ๋ยนั้น เป็นการอาศัยกระบวนการทางชีววิทยา ซึ่งจุลินทรีย์จะย่อยสลายอินทรียวัตถุให้เป็นแร่ธาตุที่ค่อนข้างจะคงรูปและมีคุณประโยชน์ต่อพืช นอกจากนี้ของที่หมักได้ที่แล้วจะมีปริมาตรลดลงประมาณร้อยละ 30-65 และยังสามารถทำลายจุลินทรีย์บางชนิดที่อาจทำให้เกิดโรคได้อีกด้วย การแปรสภาพและการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย
การนำวัสดุเหลือใช้จากขยะมูลฝอยกลับมาใช้ให้เป็นประโยชน์ จะช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยที่จะต้องกำจัด ในขณะเดียวกันก็เป็นการสงวนทรัพยากรธรรมชาติไว้ได้อีกส่วนหนึ่งด้วยการใช้ประโยชน์จากสิ่งเหลือใช้ อาจใช้วิธีหมุนเวียนวัสดุหรือแปรสภาพขยะมูลฝอยให้เป็นพลังงาน 1. การแปรสภาพขยะมูลฝอยเป็นพลังงาน เราอาจแปรสภาพขยะมูลฝอยเป็นพลังงานได้ ดังนี้คือ
พลังงานความร้อน ได้จากการนำเอาขยะมูลฝอยส่วนที่เผาไหม้ได้ มาเป็นเชื้อเพลิงสำหรับทำไอน้ำร้อน แล้วส่งไปให้ความอบอุ่นตามอาคารบ้านเรือน เช่นที่ทำอยู่ในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
พลังงานไฟฟ้า ได้จากการนำขยะมูลฝอยไปเป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไอน้ำไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าบริการแก่ประชาชน ตัวอย่างเช่น การแปรสภาพและการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยในบางรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีขยะมูลฝอยจำนวนมาก และเป็นชนิดที่เผาไหม้ได้เป็นส่วนมาก 2. การคัดแยกวัสดุเพื่อนำกลับมาใช้ วัสดุหลายอย่างในขยะมูลฝอยที่อาจนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก เช่น กระดาษ แก้ว ขวด พลาสติก เหล็กและโลหะอื่น ๆ การคัดเลือกวัสดุต่าง ๆ ที่รวมอยู่ในขยะมูลฝอยเพื่อนำกลับไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้อีก นับได้ว่ามีการปฏิบัติกันมาช้านาน จะเห็นได้ว่าตามกองขยะมูลฝอยทุกแห่งมีบุคคลกลุ่มหนึ่งไปคอยคุ้ยเขี่ยเก็บวัสดุจากกองขยะมูลฝอยตลอดเวลาเพื่อหารายได้
การเก็บวัสดุจากกองขยะมูลฝอยนั้น อาจจะเกิดผลเสีย คือ 1. ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัยของผู้แยกวัสดุจากกองขยะมูลฝอย ที่อาจเป็น อันตรายเนื่องมาจากความสกปรกของขยะมูลฝอย ซึ่งมีได้ทั้งเชื้อโรคและสารพิษ รวมทั้งของมีคมวัตถุระเบิด และสารกัมมันตรังสี เป็นต้น 2. ปัญหาจากการที่นำเอาวัสดุที่เก็บมาได้เอามากองรวม ๆ กัน เพื่อรอจำหน่ายนั้น ทำให้ เกิดกองขยะขึ้นมาอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งสกปรกรกรุงรังเป็นที่อาศัยของสัตว์และแมลงนำโรค เป็นสภาพที่น่ารังเกียจ ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยของพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง 3. การนำขยะมูลฝอยไปถมที่ดินเพื่อปรับปรุงสภาพ ขยะมูลฝอยเกือบทุกชนิดสามารถนำไปใช้สำหรับถมที่ดินที่เป็นหลุมเป็นบ่อ เช่น บ่อดินลูกรัง ที่น้ำท่วม เหมืองร้าง ฯลฯ ทำให้ที่ดังกล่าวกลายเป็นพื้นที่ราบเรียบ ใช้ประโยชน์ได้มากมายหลายประการ เช่น ทำสนามกีฬา สนามกอล์ฟ สวนสาธารณะ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ แม้กระทั่งสร้างเป็นอาคารที่ทำงานหรือที่อยู่อาศัย ในต่างประเทศมีการใช้พื้นที่ดินที่เกิดจากการถมด้วยขยะมูลฝอยแบบการฝังกลบและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ประเทศไทยก็ได้ใช้ขยะมูลฝอยไปถมที่ทำประโยชน์ เช่น ที่สวนจตุจักร ซึ่งเดิมเป็นที่ลุ่มน้ำท่วม และเต็มไปด้วยพงหญ้ารกมาก และไม่ได้ใช้ประโยชน์แต่อย่างใด ต่อมาได้มีการนำเอาขยะมูลฝอยจากสถานกำจัดขยะดินแดงมาถมที่บริเวณสวนจตุจักร และปรับปรุงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจดังที่ปรากฎอยู่ในขณะนี้
ที่มา :รวมรวมจากสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ 15
กรอบแนวคิดการวิจัย
การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหามลภาวะจากขยะในชุมชน ใช้ทฤษฎีของชาวบ้านหรือระบบความคิดของชาวบ้านเรื่องบ้าน / ชุมชน เพื่อให้สมาชิกภายในชุมชน สามารถศึกษา เรียนรู้ กฏเกณฑ์ ข้อกำหนดในสังคม และเป็นการตอกย้ำอุดมการณ์ ค่านิยมต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา
3. วิธีการวิจัย
โครงการจัดการขยะในชุมชนบ้านคีรีวงอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลกำโลน อำเภอ ลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยใช้ยุทธวิธีเพิ่มความสามารถของประชาชน วิธีการพัฒนาคุณภาพชุมชน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและกระบวนการจัดการชุมชน ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นตอนการเตรียมการ
1.1. การคัดเลือกชุมชน เครื่องมือ
1.2. การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
2. ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยในชุมชน
2.1 การศึกษาและการวิเคราะห์ปัญหาชุมชน
2.2 การพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ
2.3 การกำหนดแผนงาน โครงการและการจัดการ
2.3.1 โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครชุมชน
2.3.2 โครงการพัฒนาศักยภาพครอบครัว
2.3.3 โครงการพัฒนาศักยภาพเยาวชน
2.3.4 โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
3.1 ขั้นตอนการเตรียมการ
3.1.1 การคัดเลือกชุมชน มีกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้ทีมผู้วิจัยร่วมกันคัดเลือกชุมชนเป้าหมาย ซึ่งได้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย คือ
- หมู่ที่ ๕ บ้านคีรีวง
- หมู่ที่ ๘ บ้านคีรีทอง
- หมู่ที่ ๙ บ้านขุนคีรี
- หมู่ที่ ๑๐ บ้านคีรีธรรม
ซึ่งหมู่บ้านทั้ง ๔ เป็นหมู่บ้านในชุมชนบ้านคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่องจากมีความพร้อมด้านการทำงานของชุมชน
มอบหมายให้คุณสุภิญญา บุญเฉลย ตัวแทนทีมผู้วิจัย ในการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ในชุมชนและเข้าร่วมกิจกรรมในทุก ๆ ครั้ง
3.1.2 การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน เริ่มจากทีมผู้วิจัย ได้เผยแพร่ความคิดเห็นเรื่องมลภาวะจากขยะในชุมชนตามโครงการชุมชนเข้มแข็งร่วมแรงร่วมใจแก้ไขปัญหามลภาวะจากขยะให้แก่ผู้นำชุมชน อบต.กำโลน โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๔ สถานีอนามัยคีรีวง กลุ่มองค์กรและอาสาสมัคร ๔ หมู่บ้าน โดยให้ความรู้เรื่องของมลภาวะจากขยะ และแนวทางการแก้ปัญหา รวมทั้งมีการสำรวจปัญหาและสร้างความสัมพันธ์ขั้นต้นไว้ก่อนจำนวนประมาณ ๔๐ คน ร่วมกันในการกระตุ้นให้ชุมชนทราบปัญหามลภาวะจากขยะ ให้ชุมชนมีความตระหนักและตื่นตัวที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหามลภาวะจากขยะซึ่งจะทำให้ชุมชนมีความคุ้นเคย มีสัมพันธภาพที่ดีต่อทีมผู้วิจัยและอยากจะมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมในการแก้ไขปัญหามลภาวะจากขยะ
3.1.3 การคัดเลือกแกนนำในชุมชน การคัดเลือกแกนนำชุมชนให้วิธีพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการในโอกาสที่ต้องไปทำกิจกรรมร่วมกัน เช่นไปร่วมกิจกรรมค่ายอาสาสมัคร ค่ายเยาวชน แกนนำในชุมชน ที่รับผิดชอบหรือใส่ใจงานด้านมลภาวะที่เกิดจากขยะ คณะผู้วิจัยจะแพร่ความคิดให้กับตัวแทนหน่วยงาน องค์กร กลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน นัดประชุมเครือข่ายและพูดคุยโดยตรงกับแกนนำของแต่ละหมู่บ้าน ชุมชนละ 3-5 คน รวมทั้งผู้นำชุมชนตามกฎหมายในชุมชนนั้นด้วย
3.1.4 การสร้างเครือข่าย เป็นการสร้างกลไกความร่วมมือในการทำงานพัฒนาชุมชนของทั้งภาครัฐและชุมชนทุกเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินการแก้ไขปัญหามลภาวะจากขยะ โดยมีเป้าหมายร่วมกันเพื่ออบรมให้ความรู้แก่แกนนำชุมชนในระดับท้องถิ่น ทั้งระดับตำบลและหมู่บ้าน มุ่งเน้นการทำงานร่วมกันในด้านการป้องกัน การควบคุมและการแก้ปัญหามลภาวะจากขยะ โดยประสานความร่วมมือกับตัวแทนชุมชนในท้องถิ่นในระดับชุมชน โดยการพูดคุย เผยแพร่แนวคิดแบบไม่เป็นทางการ ทั้งผู้บริหาร ผู้นำชุมชน สถานีอนามัย กลุ่มองค์กรในชุมชน โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๔
- ระดับหมู่บ้าน สร้างเครือข่ายโดยการนัดมาพูดคุย
- ระดับผู้นำองค์กรกลุ่มต่างๆ สร้างเครือข่ายของอาสาสมัคร โดยการพูดคุย
- ระดับประชาคมหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน
- คณะผู้วิจัยได้จัดโครงการประชุมเครือข่าย เพื่อให้ตัวแทนจากองค์กร และกลุ่มอาสาสมัครต่างๆ
ได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการคิด ในการตัดสินใจ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นตัวแทนจากองค์กรและกลุ่ม
อาสาสมัครต่าง ๆในชุมชน จัดกิจกรรมในการสร้างสัมพันธภาพ สร้างความรู้จักโดยใช้กิจกรรมต่าง ๆเป็นสื่อ เช่นกิจกรรมแนะนำตนเองเป็นต้น
ผลที่ได้รับจากการประชุม นำสู่ประเด็นการสร้างแนวคิดเรื่องความร่วมมือ โดยสรุปความคาดหวังที่ผู้เข้าร่วมประชุม อยากได้ ออกมาเป็นหัวข้อใหญ่ ๆ คือ
1. ความรู้ความเข้าใจและความรู้ในการปฏิบัติ
2. ความร่วมมือในการแก้ปัญหา
3. สร้างชุมชนให้น่าอยู่ปลอดมลภาวะจากขยะ
4. รูปแบบการทำงานเป็นทีม
5. รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมรักษาสิ่งแวดล้อม
3.2 ขั้นดำเนินการวิจัย
3.2.1 การศึกษาและการวิเคราะห์ปัญหาชุมชน
การดำเนินการศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาชุมชน โดยชุมชน เน้นวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยใช้หลักการจัดโครงการจับเข่าคุยกัน เพื่อทำให้ทราบถึงปัญหาที่มีในชุมชนนั้น โดยเน้นปัญหามลภาวะจากขยะในชุมชนคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช และการระดมความคิดวิธีการในการแก้ปัญหาและความต้องการให้เกิดอะไรขึ้นจากปัญหามลภาวะจากขยะ
3.2.2 การพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ
การพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการก็เน้นหลักการจัดโครงการจับเข่าคุยกัน
เช่นกันกับกลุ่มเครือข่ายในชุมชน เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการจัดทำโครงการ และดำเนินโครงการที่จะทำให้สามารถลดมลภาวะจากขยะให้หมดไป หรือลดลงอย่างยั่งยืน
3.2.3 การกำหนดแผนงาน โครงการและการจัดการ
การกำหนดแผนงาน โครงการและการจัดการก็เน้นหลักการจัดโครงการจับเข่าคุยกันเช่นกันกับกลุ่ม
เครือข่ายในชุมชนและผู้นำท้องถิ่น เพื่อกำหนดแผนงาน โครงการและการดำเนินการแก้ปัญหามลภาวะจากขยะ
โดยทางทีมผู้วิจัยวางเค้าโครงการแก้ปัญหามลภาวะจากขยะ ดังนี้
o โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครชุมชน : กิจกรรมผู้นำชุมชน
o โครงการพัฒนาศักยภาพครอบครัว : กิจกรรมบ้านสวยด้วยมือเรา
o โครงการพัฒนาศักยภาพเยาวชน : กิจกรรมเยาวชนต้นกล้า
o โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้อง : กิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน
ทีมผู้วิจัยแกนนำที่ได้รับการคัดเลือกจัดเสวนนาจับเข่าคุยกันกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติการแก้ปัญหามลภาวะจากขยะ ดังนี้
กิจกรรม
ผู้เกี่ยวข้อง
วัน เดือน ปี
ผู้รับผิดชอบ
๑ การสำรวจชุมชน
๑.๑ การคัดเลือกชุมชน
- ทำหนังสือประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผู้นำท้องถิ่น
ผู้นำองค์กร
ประธานกลุ่ม-เครือข่ายต่าง ๆ
6 – 7 กรกฎาคม 2550
คณะผู้ทำวิจัย
กิจกรรม
ผู้เกี่ยวข้อง
วัน เดือน ปี
ผู้รับผิดชอบ
- สนทนา ( จัดโต๊ะกลม)คุยกับตัวแทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสรุปแนวความคิด จากข้อมูลของผู้นำ เครือข่ายและ คณะผู้ทำวิจัย เลือกชุมชน ที่เหมาะสม
จนท.อนามัย
คณะผู้ทำวิจัย
13-14
๑.๒ การคัดเลือกแกนนำ
- จากการพูดคุย กับตัวแทนของหน่วยงานต่าง ๆ ทำให้คณะผู้ทำวิจัยพอมีข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลสำคัญในหมู่บ้าน ที่จะทำการคัดเลือกแกนนำ
- ดูผลงานจากระดับครอบครัว เช่นเป็นคนที่มีความรับผิดชอบดี มีแนวคิดที่จะพัฒนาชุมชนของตนเอง หรืออาจจะเป็นนักศึกษาที่มีความคิดดี หรือผู้นำชุมชนในหมู่บ้านนั้น ๆ
- การคัดเลือกจากการนำเสนอของสมาชิกในชุมชน ถึงบุคคลที่น่าจะเป็นแกนนำ หรือร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชนได้ดี
ผู้นำท้องถิ่น
ผู้นำองค์กร
ประธานกลุ่ม-เครือข่ายต่าง ๆ
จนท.อนามัย
คณะผู้ทำวิจัย
20–21กรกฎาคม 2550
คณะผู้ทำวิจัย
๒. การสร้างเครือข่าย
- ประสานความร่วมมือกับตัวแทนชุมชนในท้องถิ่นในระดับชุมชน โดยการพูดคุย แพร่แนวคิดแบบไม่เป็นทางการ ทั้งผู้บริหารและผู้นำชุมชน สถานีอนามัย และประธานกลุ่มองค์กรในชุมชน
ผู้นำท้องถิ่น
ผู้นำองค์กร
ประธานกลุ่ม-เครือข่ายต่าง ๆ
จนท.อนามัย
คณะผู้ทำวิจัย
27-31 ก.ค
2550
คณะผู้ทำวิจัย
3. ประชุมเครือข่าย
- ตัวแทนจากองค์กรและกลุ่มอาสาสมัครต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วม ในการคิด ในการตัดสินใจ จัดกิจกรรมในการสร้างสัมพันธภาพ ความรู้จักโดยใช้กิจกรรมต่าง ๆเป็นสื่อ เช่นกิจกรรมแนะนำตนเองเป็นต้น
ผู้นำท้องถิ่น
ผู้นำองค์กร
ประธานกลุ่ม-เครือข่ายต่าง ๆ
จนท.อนามัย
คณะผู้ทำวิจัย
7-11สิงหาคม 2550
คณะผู้ทำวิจัย
กิจกรรม
ผู้เกี่ยวข้อง
วัน เดือน ปี
ผู้รับผิดชอบ
- นำผลที่ได้รับจากการประชุม นำสู่ประเด็นการสร้างแนวคิดเรื่องความร่วมมือ โดยสรุปความคาดหวังที่ผู้เข้าร่วมประชุม อยากได้ ออกมาเป็นหัวข้อใหญ่ ๆ คือ
- ความรู้ ความเข้าใจและการปฏิบัติ
- ความร่วมมือในการแก้ปัญหา
- สร้างชุมชนให้น่าอยู่ปลอดมลภาวะจากขยะ
- รูปแบบการทำงานเป็นทีม
- รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมรักษาสิ่งแวดล้อม
21-25 ส.ค
3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
1. วิเคราะห์แบบสอบถามข้อมูลเบื้องต้น
2. วิเคราะห์ในส่วนของข้อคำถามของกลุ่มเป้าหมาย
3. วิเคราะห์ความคิดเห็นอื่น ๆ จากแบบสอบถามปลายเปิด
วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
1 ความคิดเห็น:
สมมุติฐานการวิจัย ควรจะเป็นคำตอบที่เราคาดหมายในการตอบคำถามวิจัย
หัสชัย
แสดงความคิดเห็น